การศึกษาดูงานนอกสถานที่ ของนักศึกษา
สาขาวิชา FSN/4 ในรายวิชา Food and Nutrition for Community

การศึกษาดูงานนอกสถานที่ ของนักศึกษาสาขาวิชา FSN/4 ในรายวิชา Food and Nutrition for Community ระหว่างวันที่ 25 มกราคม – 4 พฤษภาคม 2561 ณ 1.โรงเรียนบ้านเนินหอม 2. คลินิกหมอครอบครัว สาขาศาลาไทย 3. รพ.สต.เนินหอม 4.เยี่ยมบ้านผู้ป่วย เขตเมืองปราจีนบุรี และ 5.กลุ่มงานโภชนศาสตร์ รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร

32079706_1789215667767251_2674916107374034944_n

กิจกรรมโครงการบริการวิชาการ
เรื่อง การบูรณาการวิชาการด้านอาหาร
และโภชนาการเพื่อชุมชน

กิจกรรมโครงการบริการวิชาการ เรื่อง การบูรณาการวิชาการด้านอาหารและโภชนาการเพื่อชุมชน รอบที่ 2 วันที่ 29 มีนาคม -27 เมษา 61. โดย น.ศ FSN ปี4 ไปทำกิจกรรม ณ 1. รพ.สต. ศาลานเรศวร จ.ปราจีนบุรี 2. อบต.เนินหอม จ.ปราจีนบุรี และ 3. รพ.สต.เนินหอม จ.ปราจีนบุรี ให้ความรู้กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เกี่ยวกับธงโภชนาการ และการรับประทานผัก-ผลไม้ให้ได้อย่างน้อย 400 กรัม/วัน ให้ความรู้แก่ อสม และส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ตระหนักถึงการเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสมกับโรคที่เป็นอยู่ “เพราะการเรียนด้านวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการนั้น ไม่ใช่แค่เพียงเรียนรู้การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรพื้นฐานให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่คงคุณค่าหรือมีคุณค่าทางโภชนาการสูงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการมีจิตสำนึกที่ดีต่อการสร้างนวัตกรรมอาหารเหล่านั้นไปเพื่อใคร และสามารถทำประโยชน์ให้ชุมชน สังคม และประเทศชาติได้อย่างไร

31955573_1789204121101739_5918804081685561344_n

อบรมเชิงปฏิบัติการ GMP, HACCP และ ISO 22000

เมื่อวันที่ 1-2 พฤษภาคม 2561 คณะอุตสาหกรรมเกษตร ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ GMP, HACCP และ ISO 22000  ซัึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิชา 050213105 Quality Management System in Agro-industry 050123103 Food Quality Analysis 050113105 Food Quality control and assurance โดยวิทยากรคุณนิรันดร์ เหลาพนัสศักดิ์ ที่ปรึกษาระบบคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร / กรรมการผู้จัดการ บริษัทควอลิตี้อัพ จํากัด -วัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ทักษะ วิชาการและวิชาชีพ มีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานระดับชาติและนานาชาติ และเป็นกลไกหนึ่งในการขับเคลื่อนขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

DSC_0001

ดูรูปภาพเพิ่มเติม

นักศึกษา มจพ. พัฒนากระบวนการติดฉลากด้วยเครื่องอัตโนมัติ ลดความสูญเสียจากการหยุดทำงานในเครื่องดื่มซุปไก่สกัด

  ในภาวะปัจจุบันองค์กรที่จะอยู่รอดได้หรือแข่งขันได้นั้น ต้องแสวงหาวิธีในการปรับปรุงการผลิต และบริการ เพื่อเพิ่มคุณภาพ ลดต้นทุน เช่นเดียวกับกระบวนการผลิตมักจะพบว่ามีความสูญเสียต่าง ๆ แฝงอยู่ในกระบวนการผลิตไม่มากก็น้อย ซึ่งเป็นเหตุให้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการผลิตต่ำกว่าที่ควรจะเป็น หรือใช้เวลานานในการผลิตสินค้าคุณภาพต่ำ ต้นทุนสูง ซึ่งจำเป็นจะต้องมีแนวคิดที่พยายามจะลดความสูญเสียเหล่านี้ให้เกิดขึ้นโดยการเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และส่งมอบได้ทันเวลา สามารถทำให้องค์กรลดความสูญเสียทุกรูปแบบในกระบวนการทำงานทุกสายงาน การพยายามปรับปรุงแก้ไขวิธีการทำงานนั้นๆ ทำให้หน่วยงานหรือองค์กร ต้องหาวิธีลดการสูญเสีย หรือค้นหาสาเหตุของความสูญเสีย และหาแนวทางแก้ไข ป้องกันเพื่อลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ซึ่งเป็นหนทางที่ใช้ในการปรับปรุงการผลิตเพื่อความอยู่รอดขององค์กรได้ ดังเช่นผลงานวิจัย “การลดความสูญเสียจากการหยุดทำงานขั้นตอนการติดฉลากด้วยเครื่องติดฉลากอัตโนมัติ: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมผลิตเครื่องดื่มซุปไก่สกัด” ผลงานนายพิพัฒน์ สื่อตระกูล นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตรและการจัดการ (ATM) คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) มีอาจารย์ ดร.เจษฎา ทิพย์มณเฑียร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มจพ. เป็นที่ปรึกษางานวิจัย ผลงานชิ้นนี้การันตีความสำเร็จที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ การประกวดผลงานสหกิจศึกษาดีเด่น ประเภทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2561 จัดโดยสถาบันสหกิจศึกษาและพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ไทย-เยอรมัน (TGDE) นายพิพัฒน์ สื่อตระกูล กล่าวว่างานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์และปรับปรุงสายการผลิตการติดฉลากให้เป็นไปตามแผนการผลิต ของบริษัท แบรนด์ ซันโทรี่…