ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตรและการจัดการ

Department of Agro-Industry Technology and Management

คณะอุตสาหกรรมเกษตรได้รับความเห็นชอบให้บรรจุในแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) ต่อมาเลื่อนมาบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) และได้รับความเห็นชอบจากสภาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ อนุมัติให้จัดตั้งขึ้นในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2546 ซึ่งทางคณะได้เปิดการเรียนการสอนในสาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตรและการ จัดการเป็นสาขาแรก โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

1.เพื่อผลิตบัณฑิตวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตรและการจัดการที่มีความรู้ทั้งทางด้านทฤษฎี และปฏิบัติ และมีจรรยาบรรณที่ดีในวิชาชีพ

2.เพื่อส่งเสริมการวิจัย และการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาพัฒนาด้านอุตสาหกรรมเกษตรตั้งแต่กระบวนการ ผลิตจนถึงการจัดจำหน่าย และส่งเสริมความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม

3.เพื่อสนองตอบความต้องการกำลังคนของประเทศ ในด้านอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร พร้อมทั้งมีความรู้ในเชิงบูรณาการ สามารถประยุกต์ความรู้ด้านการบริหารและการจัดการเพื่อการดำเนินธุรกิจอย่าง มีประสิทธิภาพ

ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตรและการจัดการ (Agro-Industry Technology and Management)

คณะอุตสาหกรรมเกษตร (Faculty of Agro-industry)

 

ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตรและการจัดการ หรือที่รู้จักในนาม ATM (Agro-Industry Technology and Management) ปัจจุบันเปิดการเรียนการสอน ในหลักสูตรภาษาไทย ทั้งหลักสูตรระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ด้านอุตสาหกรรมเกษตร ประกอบด้วย 3 หลักสูตร คือ

  1. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหารและการจัดการ (B.Sc. Food Science and Management)
  2. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหารและการจัดการ (M.Sc. Food Science and Management)

หลักสูตรสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหารและการจัดการ มุ่งเน้นให้บัณฑิตมีความรู้เชิงบูรณาการทั้งองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารและการบริหารจัดการด้านอุตสาหกรรมอาหาร มีการศึกษาเทคโนโลยีแปรรูปหรือการเพิ่มมูลค่าผลิตผลทางการเกษตร ประมง ปศุสัตว์รูปแบบต่างๆ ให้เป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอาหารที่มีมูลค่าสูงขึ้นตามความต้องการของตลาดและมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค นอกจานี้ยังมีการเรียนการสอนทางการบริหารจัดการองค์กรและการจัดการเทคโนโลยี เช่น การจัดการผลิต การจัดการคุณภาพ การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เพื่อให้บัณฑิตมีทักษะการวิเคราะห์การตัดสินใจ ส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่การประยุกต์ทางธุรกิจและอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพตอบสนอต่อความต้องการอาหารที่ปลอดภัยและหลากหลาย ทั้งภายในและต่างประเทศ

  1. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ (B.Sc. Food Science and Nutrition) เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ และส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้เกิดทักษะ สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรพื้นฐานให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่คงคุณค่าหรือมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ตลอดจนเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้บริโภคตามมาตรฐานสากล

แนวทางการประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษา

  • ฝ่ายผลิต ฝ่ายควบคุมคุณภาพ ฝ่ายประกันคุณภาพ ฝ่ายวิจัยพัฒนา ฝ่ายวางแผนการผลิต ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายโลจิสติกส์ ในโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเกษตร
  • ฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับอาหารและโภชนาการ นักโภชนาการ ในหน่วยงานราชการและเอกชน
  • นักวิทยาศาสตร์การอาหาร ข้าราชการ ครู อาจารย์
  • เจ้าของธุรกิจ/ผู้ประกอบการ

 

ระดับ หลักสูตร เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา ช่วงเวลาเรียน ค่าเทอม
ปริญญาตรี (4 ปี) วิทยาศาสตร์การอาหารและการจัดการ
(หลักสูตรภาษาไทย)
ภาคปกติ 142 หน่วยกิต จ-ศ (09.00 – 16.00) 19,000 บาท (เหมาจ่าย)
วิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ
(หลักสูตรภาษาไทย)
ภาคปกติ 140 หน่วยกิต จ-ศ (09.00 – 16.00) 19,000 บาท (เหมาจ่าย)
ปริญญาโท

(2 ปี)

วิทยาศาสตร์การอาหารและการจัดการ
(หลักสูตรภาษาไทย)
ภาคปกติ 36 หน่วยกิต (วิทยานิพนธ์) ในเวลาราชการ

จ-ศ (09.00 – 16.00)

 

28,800 บาท (เหมาจ่าย)

 

 

ติดต่อภาควิชา
ที่ตั้ง: คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตปราจีนบุรี
129 หมู่ 21 ตำบลเนินหอมอำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี 25230

โทรศัพท์: +66(0) 3721 7312,  +66(0) 3721 7300 ต่อ 7940  โทรสาร +66(0)37 217312

ผู้ประสานงานภาควิชา: คุณอุษา พิลึกดีเดช  email: ousa.pi@agro.kmutnb.ac.th

Website: https://agro.kmutnb.ac.th/

Facebook: https://www.facebook.com/aikmutnb