ผู้ประกอบการ ผลิตสินค้า ประเภทแชมพูสมุนไพร และเจลอาบน้ำสมุนไพร จากจังหวัดปราจีนบุรี

วันที่ 31 มกราคม 2568

☘️ผู้ประกอบการ ผลิตสินค้า ประเภทแชมพูสมุนไพร และเจลอาบน้ำสมุนไพร จากจังหวัดปราจีนบุรี

💡 เข้าปรึกษาเพื่อขอรับบริการการตรวจวิเคราะห์หาสารสำคัญในผลิตภัณฑ์แชมพูสมุนไพร

🎯 รวมถึงการใช้เครื่องมือตรวจสอบผลของเจลอาบน้ำสมุนไพรต่อสภาพผิวของผู้ใช้งาน จากคณะอุตสาหกรรมเกษตรดิจิทัล

แสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรมในงานประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเครือข่ายเชิงประเด็นโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

24 มกราคม 2568

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เปรมศักดิ์ พวงพลอย ผู้แทนคณะอุตสาหกรรมเกษตรดิจิทัล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตปราจีน

ได้ออกบริการวิชาการโดยเข้าร่วมแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรมในงานประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเครือข่ายเชิงประเด็นโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (C-อพ.สธ.) พ.ศ. 2568 ระหว่างวันที่ 23-25 มกราคม พ.ศ. 2568

ณ โรงแรมพรีมา พัทยา อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่าย C-อพ.สธ. ให้มีความต่อเนื่อง และขยายความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการกับสถาบันอุดมศึกษาในเครือข่ายฯ และภาคส่วนอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีตัวแทนเครือข่าย อพ.สธ. เข้าร่วมประชุมงานประมาณ 200 คน

+7

ต้อนรับคณะผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ที่ได้เดินทางตรวจประเมินและรับรองห้องปฏิบัติการปลอดภัยในรูปแบบ Peer Evaluation: Phase 3

13 มกราคม 2568

คณะอุตสาหกรรมเกษตรดิจิทัล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตปราจีนบุรี

นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.รัชนี เจริญ คณบดี, อาจารย์มีชัย ลัดดี รองคณดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ และบุคลากรคณะ

ได้ต้อนรับคณะผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ที่ได้เดินทางตรวจประเมินและรับรองห้องปฏิบัติการปลอดภัยในรูปแบบ Peer Evaluation: Phase 3 ของห้องปฏิบัติการเคมี 1 คณะอุตสาหกรรมเกษตรดิจิทัล

ซึ่งวัตถุประสงค์การตรวจเยี่ยมในครั้งนี้เพื่อตรวจประเมินและรับรองห้องปฏิบัติการเคมี1 ในด้านความปลอดภัยแก่ บุคลากร นักศึกษา ประชาชน และสิ่งแวดล้อม ในการดำเนินภารกิจของห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อการศึกษา การวิจัย และการบริการทางวิชาการแก่ชุมชน ตามมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย ซึ่งจะทำให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ห้องปฏิบัติการเคมี1 ต่อไปในอนาคต

+6

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เปรมศักดิ์ พวงพลอย และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกตินันท์ กิตติพงศ์พิทยา ได้รับเชิญเป็นกรรมการตัดสินการประกวดโครงงานระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

11 ธันวาคม 2567

คณะอุตสาหกรรมเกษตรดิจิทัล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตปราจีนบุรี โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เปรมศักดิ์ พวงพลอย และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกตินันท์ กิตติพงศ์พิทยา ได้รับเชิญเป็นกรรมการตัดสินการประกวดโครงงานระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

ในงาน

“STEM Education & Innovation” ปีการศึกษา 2567

ณ โรงเรียนมารีวิทยา จังหวัดปราจีนบุรี

ซึ่งการนำเสนอโครงงานในครั้งนี้เป็นการแสดงผลงานต่อยอดการเรียนรู้ ในรูปแบบโครงงานนวัตกรรมของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษา ที่มีรูปแบบการจัดการเรียนการสอนให้เข้ากับสถานการณ์ในยุคปัจจุบัน ที่ใช้เทคโนโลยีและการสื่อสารเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และแสดงสิ่งที่นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าจนมีผลงานด้านโครงงานนวัตกรรมเป็นที่ประจักษ์ โดยมีจำนวนโครงงานของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่ส่งเข้าร่วมประกวดมากถึง 18 โครงงาน

+11

อาจารย์มีชัย ลัดดี รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ และ น.ส.สายฝน สีกานนท์ ได้รับเชิญจากวิสาหกิจชุมชนเกษตรแปลงใหญ่อินทรีย์ตำบลนนทรี

เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2567

คณะอุตสาหกรรมเกษตรดิจิทัล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตปราจีนบุรี โดยอาจารย์มีชัย ลัดดี รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ และ น.ส.สายฝน สีกานนท์ ได้รับเชิญจากวิสาหกิจชุมชนเกษตรแปลงใหญ่อินทรีย์ตำบลนนทรี

💡การเข้าดูเครื่องทอดสุญญากาศของทางกลุ่มฯ

💡เพื่อประเมินและหาแนวทางให้คำปรึกษา ถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับวิธีการ/ หลักการใช้งานของเครื่องทอดสุญญากาศ

💡เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของทางกลุ่มฯ ต่อไป

#บริการวิชาการ

#ศูนย์วิจัยอุตสาหกรรมเกษตร

#คณะอุตสาหกรรมเกษตรดิจิทัล

+3

คณะอุตสาหกรรมเกษตรดิจิทัล ได้เข้าร่วมประชุมเพื่อหาแนวทางกับหน่วยงานที่ร่วมบูรณาการจัดทำโครงการ “โครงการไก่ฟ้ารวมใจคืนผืนป่าให้ชุมชนนำผลผลิตสร้างอาชีพสู่ความยั่งยืน”

นที่ 11 ธันวาคม 2567

⛳️ รศ.ดร.รัชนี เจริญ คณบดีคณะอุตสาหกรรมเกษตรดิจิทัล, อ.มีชัย ลัดดี รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ และ น.ส.สายฝน สีกานนท์ ได้เข้าร่วมประชุมเพื่อหาแนวทางกับหน่วยงานที่ร่วมบูรณาการจัดทำโครงการ “โครงการไก่ฟ้ารวมใจคืนผืนป่าให้ชุมชนนำผลผลิตสร้างอาชีพสู่ความยั่งยืน” ร่วมกับ กรมป่าไม้, กรมการปกครอง (ปกครองท้องที่ และประชาชน), กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (ปกครองท้องถิ่น อบต.), กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมการเกษตร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, สำนักงานตำรวจแห่งชาติกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 2, กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดปราจีนบุรี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตปราจีนบุรี และ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.67 หมู่ไก่ฟ้า) ในพื้นที่ป่านันทนาการ น้ำตกเขาอีโต้ จังหวัดปราจีนบุรี

🎯 โดยมีวัตถุประสงค์

💡 เพื่อเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่แหล่งน้ำ

💡 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

💡 เพื่อชะลอน้ำและลดการพังทลายของดิน

💡 เพื่อเป็นแหล่งน้ำสำหรับใช้ประโยชน์การปรับปรุงฟื้นฟูป่าไม้และอนุรักษ์พันธุ์ไม้

💡 เพื่อสร้างอาชีพให้เกิดการมีรายได้ นำไปสู่ความยั่งยืน

อ.ดร.เปรมศักดิ์ พวงพลอย คณะอุตสาหกรรมเกษตรดิจิทัล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตปราจีนบุรี ในนามผู้ประสานงานมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการลูกข่าย (Sub node) ได้เข้าร่วมการประชุมระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการลูกข่าย (sub node) ปี 2567

วันที่ 28 – 29 พฤศจิกายน 2567

อ.ดร.เปรมศักดิ์ พวงพลอย คณะอุตสาหกรรมเกษตรดิจิทัล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตปราจีนบุรี ในนามผู้ประสานงานมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการลูกข่าย (Sub node) ได้เข้าร่วมการประชุมระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการลูกข่าย (sub node) ปี 2567

ณ โรงแรม มารวยการ์เด้น กรุงเทพมหานคร

โดยการประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือในการดำเนินงานด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการลูกข่ายให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และเพื่อการตกลงยอมรับร่วมในการตรวจประเมินในรูปแบบ Certification และ Peer Evaluation ให้เป็นไปตามที่ทางสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กำหนด

+3

อาจารย์ ดร.เปรมศักดิ์ พวงพลอย และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกตินันท์ กิตติพงศ์พิทยา ได้รับเชิญเป็นวิทยากรพิเศษบรรยายในการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไซรัปคุณภาพสูงจากสารสกัดบัวบกด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”

17 พฤศจิกายน 2567

คณะอุตสาหกรรมเกษตรดิจิทัล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตปราจีนบุรี

นำโดย อาจารย์ ดร.เปรมศักดิ์ พวงพลอย และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกตินันท์ กิตติพงศ์พิทยา

ได้รับเชิญเป็นวิทยากรพิเศษบรรยายในการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไซรัปคุณภาพสูงจากสารสกัดบัวบกด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ให้กับคุณครูจำนวน 30 คน ในโรงเรียนสังกัดของคณะรักกางเขนแห่งจันทบุรี ซึ่งมีจำนวนโรงเรียนในสังกัดจำนวน 7 โรงเรียน ณ โรงเรียนมารีวิทยา จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งคุณครูที่เข้าการฝึกปฏิบัติจะสามารถนำสิ่งที่ได้รับจากการอบรมไปพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์สมุนไพรในท้องถิ่น ตลอดจนประยุกต์ใช้ความรู้ในการสอนแบบโครงงานในโรงเรียนได้ในอนาคต

+15