คณะอุตสาหกรรมเกษตรดิจิทัล

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คณะอุตสาหกรรมเกษตรดิจิทัล

คณะอุตสาหกรรมเกษตร จัดตั้งขึ้นในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2546 โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

  1. เพื่อผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรีและสูงกว่าปริญญาตรี ทางสาขาอุตสาหกรรมเกษตร ตลอดจนหลักสูตรนานาชาติ ให้มีความรู้ความสามารถทัดเทียมกับกลุ่มประเทศผู้นำทางเทคโนโลยีของโลก และ
    มีจริยธรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
  2. เพื่อดำเนินการทดลอง ค้นคว้า วิจัย และพัฒนาวิทยาการเฉพาะทางสาขาอุตสาหกรรมเกษตร
    เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการสนับสนุนและส่งเสริมความรู้ที่ถูกต้องและลึกซึ้ง ตลอดจนส่งเสริมงานด้านอุตสาหกรรมเกษตรของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมของประเทศให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
  3. เพื่อเผยแพร่และให้บริการวิชาการ ด้านการประยุกต์วิทยาการทางสาขาอุตสาหกรรมเกษตรให้แก่หน่วยงานของรัฐและเอกชนในรูปแบบต่างๆ ทั้งด้านการสัมมนา ปฏิบัติการ การฝึกอบรมและอื่นๆ
    เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด โดยปรับใช้การถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ทันสมัยและให้ประโยชน์ร่วมกัน
    แก่ผู้ผลิตบัณฑิตและภาคเอกชนผู้ใช้เทคโนโลยี

คณะฯ มีศูนย์วิจัยอุตสาหกรรมเกษตร เพื่อเป็นสถานที่ทำงานวิจัยในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร จัดสัมมนาและฝึกอบรมเกี่ยวกับการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรและการพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตรให้แก่ชุมชน ทำให้เกิดความเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายที่เข้มแข็งระหว่างผู้มีบทบาทในอุตสาหกรรมอาหาร และเป็นการนำเอาองค์ความรู้ทางด้านอุตสาหกรรมเกษตร มาช่วยพัฒนาคุณภาพสินค้าพื้นเมืองของชุมชนให้ได้มาตรฐานที่ยอมรับในระดับสากล เพื่อสร้างความมั่นคงของเศรษฐกิจ อันนำไปสู่การเพิ่มผลิตภาพนวัตกรรมและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเศรษฐกิจและสังคมของจังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดใกล้เคียง

ปัจจุบันคณะอุตสาหกรรมเกษตร ประกอบด้วย 2 ภาควิชา คือ

1.ภาควิชาเทคโนโลยีอุสาหกรรมและการจัดการ (Agro-Industry Technology and Management; ATM) ประกอบด้วย 3 หลักสูตร ดังนี้

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหารและการจัดการ (B.Sc. Food Science and Management)

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหารและการจัดการ (M.Sc. Food Science and Management)

หลักสูตรสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหารและการจัดการ มุ่งเน้นให้บัณฑิตมีความรู้เชิงบูรณาการทั้งองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารและการบริหารจัดการด้านอุตสาหกรรมอาหาร มีการศึกษาเทคโนโลยีแปรรูปหรือการเพิ่มมูลค่าผลิตผลทางการเกษตร ประมง ปศุสัตว์รูปแบบต่างๆ ให้เป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอาหารที่มีมูลค่าสูงขึ้นตามความต้องการของตลาดและมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค นอกจานี้ยังมีการเรียนการสอนทางการบริหารจัดการองค์กรและการจัดการเทคโนโลยี เช่น การจัดการผลิต การจัดการคุณภาพ การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เพื่อให้บัณฑิตมีทักษะการวิเคราะห์การตัดสินใจ ส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่การประยุกต์ทางธุรกิจและอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพตอบสนอต่อความต้องการอาหารที่ปลอดภัยและหลากหลาย ทั้งภายในและต่างประเทศ

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ (B.Sc. Food Science and Nutrition) เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ และส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้เกิดทักษะ สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรพื้นฐานให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่คงคุณค่าหรือมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ตลอดจนเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้บริโภคตามมาตรฐานสากล

    

  1. ภาควิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Innovation and Product Development Technology; IPD) มี 1 หลักสูตร คือ

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์
(B.Sc. Innovation and Product Development Technology) เป็นหลักสูตรที่มุ่งให้การศึกษาและส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเกษตรและรองรับการพัฒนาประเทศเข้าสู่ประเทศไทย 4.0 โดยใช้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์การอาหาร การพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงระบบ ระบบคุณภาพ การตลาดและการจัดการเป็นพื้นฐาน มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินทางปัญญาในผลิตภัณฑ์นวัตกรรมที่พัฒนาได้ ทำให้สามารถเป็นผู้ประกอบการหน้าใหม่จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยตนเอง โดยประกอบด้วย 2 แขนง ดังนี้

– แขนงวิชาเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม (B.Sc. Innovation and Product Development Technology (Health and Beauty Product Development Technology) เน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ ถั่วเมล็ดแห้ง และพืชสมุนไพร ให้เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและอาหารเพื่อสุขภาพ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร รวมถึงการนำไปใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเพื่อความงาม เป็นต้น

             แชนงวิชาการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและบรรจุภัณฑ์ (B.Sc. Innovation and Product Development Technology (Food Product and Package Design and Development) เน้นการออกแบบผลิตภัณฑ์อาหารที่น่าสนใจในขณะนั้น เช่น อาหารแนวใหม่ อาหารฟิวชั่น อาหารสำเร็จรูป ฯลฯ รวมถึงเน้นการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม สวยงาม ทันสมัย และช่วยส่งเสริมผลิตภัณฑ์ให้น่าสนใจและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค

แนวทางการประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษา

  • ฝ่ายผลิต ฝ่ายควบคุมคุณภาพ ฝ่ายประกันคุณภาพ ฝ่ายวิจัยพัฒนา ฝ่ายวางแผนการผลิต ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายโลจิสติกส์ ในโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเกษตร
  • ฝ่ายการตลาด ฝ่ายทดสอบผู้บริโภค และทดสอบทางประสาทสัมผัส
  • ฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับอาหารและโภชนาการ นักโภชนาการ ในหน่วยงานราชการและเอกชน
  • นักวิทยาศาสตร์การอาหาร ข้าราชการ ครู อาจารย์
  • เจ้าของธุรกิจ/ผู้ประกอบการ

 

ปัจจุบัน คณะอุตสาหกรรมเกษตรได้จัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจำนวน 4 หลักสูตรดังนี้

 

ภาควิชา หลักสูตร ระดับ ประเภทหลักสูตร
ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตรและการจัดการ

(Agro-industry Technology and Management)

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหารและการจัดการ

(B.Sc. Food Science and Management)

ปริญญาตรี ภาษาไทย
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ

(B.Sc. Food Science and Nutrition)

ปริญญาตรี นานาชาติ
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหารและการจัดการ

(M.Sc. Food Science and Management)

ปริญญาโท ภาษาไทยและ/หรือภาษาอังกฤษ
ภาควิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์

(Innovation and Product Development Technology)

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์

(B.Sc. Innovation and Product Development Technology)

–     แขนงวิชาเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม (Health and Beauty Product Development Technology)

–     แขนงวิชาการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและบรรจุภัณฑ์

(Food Product and Package Design and Development)

 

 

 

 

 

 

ปริญญาตรี

 

 

 

 

 

 

ภาษาไทย

 

 

In 2003, the Faculty of Agro-industry was estabished at King Mongkut’s University of Technology North Bangkok, Prachinburi campus. The mission of the faculty is to distribute educational opportunities to people in the eastern region of Thailand. The faculty play a regional leadership role in the quest for knowledge through a superior quality of teaching and learning programs in agriculture, product development, nutrition, agri-food and agri-business.

Our research and education programs integrate the disciplines of chemistry, microbiology, engineering, management, quality control, environment, marketing, product development and nutrition to prepare qualified graduates for food-related careers in industry, government and academia.

 

Offered Degrees:

The Faculty of Agro-industry offers Bachelor and Master of Science degrees in four programs including:

 

ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ อัตลักษณ์ เอกลักษณ์

คณะอุตสาหกรรมเกษตรดิจิทัล

 

ปรัชญา   

พัฒนาคน ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตร

 

ปณิธาน    

“มุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การบริหารจัดการด้านอุตสาหกรรมเกษตร และต่อยอดเทคโนโลยีดิจิทัล อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน รวมทั้งเพิ่มโอกาสทางการศึกษาในส่วนภูมิภาค”

 

วิสัยทัศน์    

“บัณฑิตมีคุณภาพ มีจิตสำนึกต่อสังคม บูรณาการความรู้จากการเรียน การวิจัย และการบริการวิชาการ
ด้านอุตสาหกรรมเกษตร”

 

พันธกิจ     

“ผลิตบัณทิตผู้มีความรู้ทางอุตสาหกรรมเกษตรและเทคโนโลยีดิจิทัล ที่มีคุณธรรมและจริยธรรมดำเนิน
การวิจัย พัฒนาองค์ความรู้ ให้บริการวิชาการแก่ชุมชน ภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม ส่งเสริม และสนับสนุนกิจกรรมเพื่อทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม”

 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ จริยธรรม สอดคล้องกับการพัฒนาขององค์ความรู้ และความต้องการด้านอุตสาหกรรมเกษตรดิจิทัล
  2. เพื่อเปิดโอกาสทางการศึกษาด้านอุตสาหกรรมเกษตรดิจิทัล
  3. เพื่อพัฒนางานวิจัยให้มีคุณภาพและเอกลักษณ์ทางวิชาการและสนับสนุนให้มี การนำผลงานวิจัยไปถ่ายทอดสู่สังคม ในลักษณะการบริการชุมชน
  4. เพื่อให้เกิดความร่วมมือทางวิชาการกับภาครัฐและภาคเอกชน

 

อัตลักษณ์    

“บัณฑิตที่คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น”

 

เอกลักษณ์       

“มจพ.คือมหาวิทยาลัยแห่งการสร้างสรรค์ประดิษฐกรรมสู่นวัตกรรม”

 

ปรับปรุงเมื่อ 20 ธ.ค. 66