คณะอุตสาหกรรมเกษตรดิจิทัล แนะแนวการศึกษา ประชาสัมพันธ์หลักสูตร แนะนำการรับสมัคร ณ โรงเรียนอัสสัมชัญ ธนบุรี กรุงเทพฯ

วันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 คณะอุตสาหกรรมเกษตรดิจิทัล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ แนะแนวการศึกษา ประชาสัมพันธ์หลักสูตร แนะนำการรับสมัคร

ณ โรงเรียนอัสสัมชัญ ธนบุรี กรุงเทพฯ

กิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่อง “การเพิ่มมูลค่ามะระขี้นกแห้งด้วยการแปรรูปในรูปแบบเครื่องดื่มผงพร้อมชงจากสารสกัดมะระขี้นกสำหรับวิสาหกิจชุมชนขนาดเล็ก”

วันที่ 21 และ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2566 คณะอุตสาหกรรมเกษตรดิจิทัล มหาวิทยาเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตปราจีนบุรี นำโดย อาจารย์ ดร.เปรมศักดิ์ พวงพลอย หัวหน้าโครงการวิจัย ได้จัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่อง “การเพิ่มมูลค่ามะระขี้นกแห้งด้วยการแปรรูปในรูปแบบเครื่องดื่มผงพร้อมชงจากสารสกัดมะระขี้นกสำหรับวิสาหกิจชุมชนขนาดเล็ก” ซึ่งได้ทุนอุดหนุนการทำกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2566 จากสำนักวิจัยแห่งชาติ (วช.) ณ วิสาหกิจชุมชนสมุนไพรบ้านคลองสิบสาม ตำบลเขาสามสิบ อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว ภายในกิจกรรมได้การบรรยายและอบรมเชิงปฏฺบัติการในหัวข้อต่างๆ จากเชิญวิทยากรพิเศษ ได้แก่ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนิดา เรณูมาลย์ บรรยายในหัวข้อเรื่อง “การออกแบบบรรจุภัณฑ์และการสร้างอัตลักษณ์สินค้าชุมชน” อาจารย์ ดร.โกศล น่วมบาง บรรยายในหัวข้อ เรื่อง “การสร้างการตลาดและช่องทางจำหน่ายสินค้าชุมชน” และ อาจารย์ ดร.เปรมศักดิ์ พวงพลอย พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกตินันท์ กิตติพงศ์พิทยา บรรยายในหัวข้อเรื่อง “การสกัดจากสำคัญจากพืชสมุนไพรและการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มผงพร้อมชงจากสารสกัดมะระขี้นกด้วยการใช้ตู้อบลมร้อน” และ “การสร้างสื่อออนไลน์สำหรับจำหน่ายสินค้าเครื่องดื่มผงพร้อมชงจากสารสกัดมะระขี้นก” โดยมีเกษตรกรและสมาชิกในวิสาหกิจชุมชนให้ความสนใจเข้าร่วมอบรมจำนวน…

ขอแสดงความยินดี กับบัณฑิตคณะอุตสาหกรรมเกษตรดิจิทัล ประจำปีการศึกษา 2565

ขอแสดงความยินดี กับบัณฑิตคณะอุตสาหกรรมเกษตรดิจิทัล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตปราจีนบุรี ที่กำลังจะเตรียมเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร มจพ. ประจำปีการศึกษา 2565

อาจเป็นรูปภาพของ 9 คน, อนุสาวรีย์ และ วัด

คณะอุตสาหกรรมเกษตรดิจิทัล ขอแสดงความยินดีกับ รศ.ดร.ศรีเวียง ฤทธิศักดิ์ และ ผศ.ดร.พนิดา เรณูมาลย์ ได้รับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา

สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวท.) ขอแสดงความยินดีกับนักวิจัยคณะอุตสาหกรรมเกษตรดิจิทัล ที่ได้รับการจดขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา อนุสิทธิบัตร จำนวน 2 งาน – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – สูตรและกรรมวิธีการผลิตเยลลี่พร้อมดื่มจากน้ำหยวกกล้วยน้ำว้าเสริมเส้นใยสับปะรด อนุสิทธิบัตรเลขที่ 22497 โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ศรีเวียง ฤทธิศักดิ์ และคณะ . สูตรส่วนผสมและกรรมวิธีการผลิตผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวจากใบหูเสือ อนุสิทธิบัตรเลขที่ 22498 โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนิดา เรณูมาลย์ และคณะ . ข้อมูล: ศูนย์บริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา มจพ.…

การอบรมหนุนเสริมความรู้การขอมาตรฐานอาหาร

ในวันที่ 27 ตุลาคม 2566

รองศาสตราจารย์ ดร.รัชนี เจริญ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณทิชา เศวตบวร เข้าร่วมกิจกรรมรายงานความก้าวหน้าระยะ 6 เดือน และการอบรมหนุนเสริมความรู้การขอมาตรฐานอาหาร

ภายใต้โครงการ “การบริหารจัดการเพื่อพัฒนา RAINS for Central II Food Valley by RMUTT

(Functionnal food and Personalized food) ประจำปี 2566”

ณ โรงแรม S31 สุขุมวิท

โดยในกิจกรรมนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.รัชนี เจริญ ได้ร่วมนำเสนอโครงการวิจัย เรื่อง “ฟองเต้าหู้หุ้มสาหร่ายทอดกรอบ” แก่ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ที่สนใจ

โอนย้ายครุภัณฑ์ชุดจำลองสถานีการผลิตอัตโนมัติ (Automation) พร้อมแท่นเลื่อนตำแหน่งเคลื่อนที่แขนกล

คณะอุตสาหกรรมเกษตรดิจิทัล ได้รับความอนุเคราะห์จากอุทธยานเทคโนโลยี มจพ. (techno park)

โอนย้ายครุภัณฑ์ชุดจำลองสถานีการผลิตอัตโนมัติ (Automation) พร้อมแท่นเลื่อนตำแหน่งเคลื่อนที่แขนกล, ชุดลำเลียงชิ้นงาน ควบคุมด้วยโปรแกรมจัดระบบการผลิตอัตโนมัติ รวมทั้งชุดควบคุมจากบริษัท Schneider

เพื่อให้คณะฯ ใช้จัดการเรียนการสอนด้านอุตสาหกรรมอาหารด้วยเทคโนโลยีใหม่ในยุคดิจิทัล

ขอแนะนำ 5 อันดับ ผลงานวิจัยที่มีการอ้างถึงสูงสุด ของ ผศ.ดร.สุนีย์ เอียดมุสิก คณะอุตสาหกรรมเกษตรดิจิทัล จากฐานข้อมูล SCOPUS

Are one early muscle ph and one early temperature measurement sufficient to detect pse breast meat in turkeys? https://shorturl.asia/qBYip Kinetic degradation of total phenolic content, DPPH radical scavenging and xanthine oxidase inhibitory activities in Yanang (Tiliacora triandra) leaf extract during preparation process | Degradasi kinetik kandungan jumlah fenolik, aktiviti pemerangkapan radikal DPPH dan xantin oksidase…

วางแผนดำเนินการจัดทำ MOU ร่วมกัน ระหว่างกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กับทาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

🤝25 ตุลาคม 2566 ณ ห้องประชุม 205 รศ.ดร.สุรพันธ์ ยิ้มมั่น รองอธิการบดีฝ่ายส่งเสริมอุตสาหกรรมและพัฒนาธุรกิจศึกษา มจพ. พร้อมด้วย ผศ.ดร.พรศักดิ์ ศรีสังสิทธิสันติ ผู้อำนวยการสถาบันฯไทย-ฝรั่งเศส และ รศ.ดร.รัชนี เจริญ คณบดีคณะอุตสาหกรรมเกษตรดิจิทัล มจพ.วิทยาเขตปราจีนบุรี

ให้การต้อนรับ และร่วมประชุมหารือ กับ คุณนที ราชฉวาง ผู้อำนวยการ กลุ่มงานพัฒนาหลักสูตรและเทคโนโลยีการฝึก และคณะ จากกรมพัฒนาฝีมือแรงงานเกี่ยวกับ แนวทางการทำงานร่วมกันทางด้านช่างไฟฟ้า ช่างเชื่อม และอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร

เพื่อวางแผนดำเนินการจัดทำ MOU ร่วมกัน ระหว่างกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กับทาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ต่อไป

ที่มาข่าว : สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส Thai-French Innovation Institute