โครงการ ถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์และการปฏิบัติงานด้านอาหารและโภชนาการ และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกี่ยวกับอาหารสำหรับผู้ป่วย
วันที่ 25 และ 28 มกราคม 62 ได้รับเกียรติจาก คุณผกามาศ ครูทอง นักโภชนาการชำนาญการ รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร และนักศึกษาฝึกงานจาก ม.ราชมงคลธัญบุรี และ ม.ราชภัฏสวนดุสิต มาเป็นวิทยากรในโครงการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์และการปฏิบัติงานด้านอาหารและโภชนาการ และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกี่ยวกับอาหารสำหรับผู้ป่วย ให้กับนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ ชั้นปีที่ 4
ณัฐภัทร บุญนารอด เผย มจพ. แห่งนี้จะทำให้ “ผม” ตามหาความสำเร็จในแบบของผมเจอ
ผมชื่อ นายณัฐภัทร บุญนารอด กำลังศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิทยาศาสตร์การอาหารและการจัดการ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตปราจีนบุรี การที่จะใช้ชีวิตในการเรียนให้มีความสุข และประสบความสำเร็จ ผมดูจากพี่ๆ เขาเป็น “ไอดอล” (Idol) ในตอนนั้น รุ่นพี่ได้มาเรียนต่อที่ มจพ. แห่งนี้ แล้วก็ประสบความสำเร็จในอาชีพและมีผลงานมากมาย ภายใต้ชื่อ “ลูกพระจอม” ทำให้เกิดเป็นแรงบัลดาลใจและคาดหวังจะเข้ามาศึกษาเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ครับ เพราะผม “เชื่อว่าในตัวของทุกๆ คนนั้นต่างก็มีดีในแบบของแต่ละคน และเชื่อว่ามหาวิทยาลัยแห่งนี้จะสามารถทำให้ผมตามหาความสำเร็จในแบบของผมเจอ ซึ่งเป็นแบบอย่าง เป็นแรงบันดาลใจ” เกี่ยวกับ “การใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย” เผื่อว่าข้อมูลเหล่าจะมีประโยชน์กับน้องๆ หลายคนที่กำลังสนใจอยากเข้ามาเป็น ลูกพระจอม คือ ณัฐภัทร เล่าให้ฟังว่า เรียนจบมาจากโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ 2 จังหวัดฉะเชิงเทรา แรงจูงใจที่ทำให้ผมได้เข้ามาศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัย มาเป็นลูกพระจอม เกิดจากรุ่นพี่ในสมัยเรียนมัธยม การใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยไม่ยากอย่างที่คิด…มันมีวิธีที่จะช่วยทำให้เราเรียนได้อย่างมีความสุข ผมมองว่าการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยมันคือสังคมใหม่ต้องรู้จักการปรับตัวให้เข้ากับสังคมใหม่ ซึ่งมันก็คือการเดินทางที่เตรียมความพร้อมที่จะเป็นผู้ใหญ่ เพราะมันเป็นเหมือนกับตัวทดสอบว่า “คุณนั้นพร้อมที่จะผู้ใหญ่แล้วหรือยัง มีความรับผิดชอบ ตรงต่อเวลา ละเอียดรอบคอบเพียงพอไหม และสามารถทนต่อแรงกดดันได้หรือเปล่ามีสัมมาคารวะและรู้จักกาลเทศะต่อปฏิบัติตัวให้พอเหมาะพองามอย่างไร” ทุกอย่างนี้ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ได้จากการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยทั้งนั้น แต่มันก็ไม่ใช้ว่าจะยากอย่างที่คิด การใช้ชีวิตแบบง่ายๆ…
นักศึกษา ชั้นปีที่ 4 เข้าศึกษาดูงาน โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
วันที่ 22 มกราคม 2562 คณะอุตสาหกรรมเกษตร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตปราจีนบุรี ได้นำนักศึกษาภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตรและการจัดการ สาขาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ ชั้นปีที่ 4 เข้าศึกษาดูงาน ณ กลุ่มงานโภชนศาสตร์ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
คณะอุตสาหกรรมเกษตร ได้จัดโครงการ “ถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์และการปฏิบัติงานด้านการจัดการอุตสาหกรรมอาหาร”
วันที่ 28 พฤศจิกายน 2561 คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตปราจีนบุรี ได้จัดโครงการ “ถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์และการปฏิบัติงานด้านการจัดการอุตสาหกรรมอาหาร” โดย คุณพีรพัฒน์ ศิรวัฒนากุล ผู้จัดการฝ่ายผลิต บริษัทไทยรวมสินพัฒนาอุตสาหกรรม จำกัด มาบรรยายให้ความรู้ ณ ห้องปฎิบัติการคอมพิวเตอร์ 222 ชั้น 2 อาคารคณะอุตสาหกรรมเกษตร
นักศึกษา คณะอุตสาหกรรมเกษตร มจพ. พัฒนาผลิตภัณฑ์ “ลิปบาล์มผสมสารสกัดสีจากข้าวไรซ์เบอร์รี่” มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน กระทรวงอุตสาหกรรม
เป็นผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสาขานวัตกรรมและเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยจะเกี่ยวกับสูตรและกรรมวิธีการผลิตลิปบาล์มผสมสารสกัดสีจากข้าวไรซ์เบอร์รี่ โดยคุณลักษณะของสีลิปบาล์ม เน้นใช้สารให้สีจากธรรมชาติเป็นหลัก โดยสารให้สีจากธรรมชาติที่สกัดได้จากข้าวไรซ์เบอรี่ สารสกัดสีที่ได้มีปลอดภัย ไม่ใช้สีสังเคราะห์ รักษ์สิ่งแวดล้อม ผลิตภัณฑ์ “ลิปบาล์มผสมสารสกัดสีจากข้าวไรซ์เบอร์รี่” นี้เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช. 452/2553) เรื่อง มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนผลิตภัณฑ์บำรุงริมฝีปาก ออกโดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนงานจาก สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STRI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เพื่องานประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม มจพ. ปี 2561 ที่ผ่านมา วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อใช้ประโยชน์จากสารสกัดสีแอนโทไซยานินจากข้าวไรซ์เบอร์รี่ ที่ได้จากธรรมชาติซึ่งเป็นสารสกัดสีที่ปลอดภัย นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากข้าว ไรซ์เบอร์รี่ รวมถึงช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับข้าวไรซ์เบอร์รี่ ในการใช้เป็นสารให้สีและสารต้านอนุมูลอิสระในผลิตภัณฑ์ ลิปบาล์ม เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยและตรงตามความต้องการของผู้บริโภค แนวคิดและความเป็นมาของงานวิจัยชิ้นนี้ มาจากความไม่ปลอดภัยในการใช้ลิปสติกหรือลิปบาล์มของผู้บริโภค ซึ่งโดยส่วนใหญ่ลิปบาล์ม เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้สำหรับทาริมฝีปาก เพื่อให้เกิดความนุ่น มันเงา และป้องกันริมฝีปากแห้ง โดยมีส่วนประกอบหลักเป็นน้ำมันพืช เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันงา น้ำมันปาล์ม และส่วนผสมที่ทำให้เกิดการแข็งตัว เช่น ปิโตรเลียมเจล พาราฟิน ขี้ผึ้ง และมีการแต่งสี แต่งกลิ่น เพื่อให้ดึงดูดใจผู้บริโภคมากขึ้น โดยสีที่ใช้ได้แก่สารให้สีสังเคราะห์ ซึ่งสารให้สีสังเคราะห์เหล่านั้นอาจก่อให้เกิดการอันตรายเนื่องจากมีส่วนผสมของโลหะหนักบางชนิด ทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ…